จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันอังคารที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2555

เป็ดหงส์


เป็ดหงส์
เป็ดหงส์
  • ชื่อทางวิทยาศาสตร์ :Sarkidiornis melanotos 
  • ลักษณะทั่วไป :เป็นเป็ดป่าขนาดใหญ่ มีลำตัวยาวถึง 76 เซนติเมตร มีจะงอยปากสีดำ แถบบนปีกมีสีบรอนซ์สะดุดตา เป็ดตัวผู้มีส่วนหลังสีดำเหลือบสีเขียวแกมฟ้าและสีม่วง ส่วนหัวและลำคอสีขาว มีจุดประสีดำ มีแถบสีดำรอบด้านหลังคอพาดลงไปถึงด้านข้างของส่วนอก และอีกแถบหนึ่งพาดลงไปด้านข้างของส่วนหาง ขณะบินจะสังเกตเห็นแผ่นหลังส่วนล่างสีออกเทาชัดเจน ในฤดูผสมพันธุ์ตัวผู้มีปุ่มเนื้อที่โคนจะงอยปากด้านบน ส่วนคอและที่ใกล้หาง ลูกเป็ดอายุน้อยลำตัวไม่ค่อยมีสีเหลือบและบริเวณแถบขาวมีสีคล้ำ 
  • ถิ่นอาศัย, อาหาร :ชอบอาศัยอยู่ตามแหล่งน้ำที่มีพืชปก คลุม ทำรังในโพรงของต้นไม้ที่ขึ้นอยู่ใกล้น้ำ ตั้งแต่ปากีสถาน อินเดีย ศรีลังกา บังคลาเทศ ไปทางทิศตะวันออก ผ่านแคว้นอัสสัม พม่า ถึงบริเวณเอเซียตะวันออกเฉียงใต้และจีนตอนตะวันตกเฉียงใต้ นอกจากนี้ยังพบในทวีปแอฟริกาอีกด้วย อาหารได้แก่ ข้าวเปลือก เมล็ดหญ้า ลำต้นอ่อนของพืช และสัตว์น้ำ 
  • พฤติกรรม, การสืบพันธุ์ :ปกติจะพบอาศัยอยู่เป็นกลุ่มครอบครัว หนึ่ง 4-10 ตัว หากินโดยการไซ้กินหัวและยอดอ่อน ตลอดจนเมล็ดของพืชน้ำ เมล็ดข้าว แมลงน้ำ บางครั้งพบกินกบ เขียดและปลาด้วย เป็ดป่าชนิดนี้เดิน และเกาะกิ่งไม้ได้ดี การเกาะกิ่งไม้ใช้กรงเล็บแหลมที่แข็งแรงเกาะ เป็ดหงษ์มีฤดูผสมพันธุ์ตกอยู่ในราวเดือนกรกฎาคมจนถึงเดือนกันยายน ในประเทศอินเดียมีรายงานว่าพบทำรังในรังเก่าของพวกแร้ง และในรูบนกำแพงป้อมเก่า ๆ และบนหน้าผาดิน วางไข่สีครีมจาง ๆ จำนวน 7-15 ฟอง เป็ดหงส์ผสมพันธุ์ในช่วงฤดูฝน โดยทำรังวางไข่ตามโพรงต้นไม้ในป่า หรือต้นไม้ใกล้แหล่งน้ำ ไข่สีงาช้างเป็นมัน ไม่มีลวดลาย ตัวเมียฟักไข่นาน 29 - 31 วัน ส่วนตัวผู้จะคอยเฝ้าระวังภัยอยู่ใกล้ๆ 
  • สถานภาพปัจจุบัน :พบน้อยมาก ปี พ.ศ. 2529 พบ 10 ตัว ที่เขตห้ามล่าสัตว์ป่าอ่างเก็บน้ำสนามบิน จังหวัดบุรีรัมย์ ปี พ.ศ. 2531 พบ 1 ตัว ที่บึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์ การเปลี่ยนแปลงสภาพบริเวณบึง หนอง ตามธรรมชาติไปเป็นทุ่งนา สำหรับปลูกข้าว และการตัดฟันต้นไม้สูงๆ ลงเป็นจำนวนมาก รวมทั้งการล่าเพื่อเป็นอาหารอย่างหนัก ทำให้ต้องสูญเสียแหล่งหากิน แหล่งทำรังและแหล่งพักนอนไป เป็ดหงส์จึงไม่ทำรังวางไข่ในประเทศไทยอีกต่อไป พบเฉพาะตัวที่บินมาหากินในฤดูหนาวในบริเวณอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่บางแห่งเท่า นั้น จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 
  • สถานที่ชม :สวนสัตว์ดุสิต, สวนสัตว์เปิดเขาเขียว, สวนสัตว์นครราชสีมา, สวนสัตว์เชียงใหม่, สวนสัตว์สงขลา 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น