จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันอังคารที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2555

วัน อาทิตย์ ที่ 26 สิงหาคม 2555

วัน  อาทิตย์ ที่  26 สิงหาคม 2555


 (ตอนเช้า)            ตื่นนอน  อาบน้ำ ล้างหน้า  แปรฟัน    กินข้าว
 (ตอนกลางวัน)   กินข้าวกลางวัน  ไปเที่ยว กลับบ้านอ่านหนังสือ
(ตอนเย็น)           ทำการบ้าน    กินข้าวเย็น  รีดผ้า  ดูทีวี  เข้านอน 

วัน เสาร์ ที่ 25 สิงหาคม 2555

วัน เสาร์ ที่ 25 สิงหาคม 2555




(ตอนเช้า)           ตื่นนอน  อาบน้ำ ล้างหน้า  แปรฟัน   กินข้าว 
(ตอนกลางวัน)    กินข้าวกลางวัน  ไปเที่ยว
(ตอนเย็น)           ทำการบ้าน    กินข้าวเย็น   ดูทีวี  เข้านอน 

วัน ศุกร์ ที่ 24 สิงหาคม 2555

                                      วัน ศุกร์  ที่  24 สิงหาคม  2555

                                                  

(ตอนเช้า)           ตื่นนอน  อาบน้ำ ล้างหน้า  แปรฟัน    กินข้าว
 (ตอนกลางวัน)  กินข้าวกลางวัน  เล่นคอมพิวเตอร์
(ตอนเย็น)          ทำการบ้าน    กินข้าวเย็น   ดูทีวี  เข้านอน 

วัน พฤหัสบดี ที่ 23 สิงหาคม 2555

วัน  พฤหัสบดี ที่  23  สิงหาคม  2555


(ตอนเช้า)          ตื่นนอน  อาบน้ำ ล้างหน้า  แปรฟัน  กินข้าว   
 (ตอนกลางวัน)  กินข้าวกลางวัน  ทำการบ้าน

(ตอนเย็น)             ทำการบ้าน    กินข้าวเย็น   ดูทีวี  เข้านอน 

วัน พุธ ที่ 22 สิงหาคม 2555

วัน พุธ ที่  22 สิงหาคม 2555



(ตอนเช้า)           ตื่นนอน  อาบน้ำ ล้างหน้า  แปรฟัน   กินข้าว  
                                    (ตอนกลางวัน)    กินข้าวกลางวัน  ดูทีวี

                                   (ตอนเย็น)        ทำการบ้าน    กินข้าวเย็น   ดูทีวี   เข้านอน 

วัน อังคาร ที่ 21 สิงหาคม 2555

        วัน อังคาร ที่   21 สิงหาคม 2555      


         
(ตอนเช้า)            ตื่นนอน  อาบน้ำ ล้างหน้า  แปรฟัน  แต่งตัวไป ร.ร  กินข้าวไป ร.ร  
(ตอนกลางวัน)     กินข้าวกลางวัน  ไปเรียนหนังสือต่อ
(ตอนเย็น)            กลับบ้าน   ทำการบ้าน    กินข้าวเย็น   ดูทีวี  เข้านอน 

วัน จันทร์ ที่ 20 สิงหาคม 2555

                                    วัน จันทร์ ที่  20 สิงหาคม 2555

                                     


 (ตอนเช้า)        ตื่นนอน  อาบน้ำ ล้างหน้า  แปรฟัน  แต่งตัวไป ร.ร  กินข้าวไป ร.ร
 
(ตอนกลางวัน)  กินข้าวกลางวัน  ไปเรียนหนังสือต่อ

(ตอนเย็น)        กลับบ้าน   ทำการบ้าน    กินข้าวเย็น   ดูทีวี  เข้านอน 

วันอังคารที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2555

เห่าช้าง



เห่าช้าง

เห่าช้าง
  • ชื่อทางวิทยาศาสตร์ :Varanus rudicollis
  • ลักษณะทั่วไป :ตัวสีดำเข้ม มีขนาดเล็กกว่าพวกเหี้ย หรือตะกวด มีลายเลือนๆ ขวางลำตัว ปากแหลมและเกล็ดบนสั้น เกล็ดบนคอใหญ่เป็นแหลมๆ คล้ายหนามทุเรียน
  • ถิ่นอาศัย, อาหาร :พบในภาคใต้ของประเทศไทยและพม่า หมู่เกาะสุมาตรา บอร์เนียว มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ เห่าช้างกินไก่ นก ปลา กบ เขียด กินได้ทั้งของสด และของเน่า
  • พฤติกรรม, การสืบพันธุ์ :ชอบอยู่ในป่าทึบและเดินหากินบนพื้นดิน แต่ก็ขึ้นต้นไม้เก่ง เป็นสัตว์ว่องไวปราดเรียวและซุกซ่อนตัวเก่ง ดุกว่าเหี้ย ถ้าเข้าใกล้จะพองคอขู่ฟ่อๆ เห่าช้างเริ่มผสมพันธุ์ในช่วงเดือนมกราคม-มีนาคม โดยวางไข่ตามหลุมที่ขุดเป็นโพรง เมื่อออกไข่แล้วจะไม่ฟักไข่ ลูกฟักออกจากไข่เองตามธรรมชาติ และเมื่อลูกออกจากไข่แล้วก็จะหากินเอง
  • สถานภาพปัจจุบัน :เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535

เต่าดำ (เต่าแก้มขาว)




เต่าดำ (เต่าแก้มขาว)


เต่าดำ (เต่าแก้มขาว)
  • ชื่อทางวิทยาศาสตร์ :Siebenrockiella crassicollis
  • ลักษณะทั่วไป :เป็นเต่าขนาดเล็ก ยาวประมาณครึ่งฟุต หนักไม่ถึงครึ่งกิโลกรัม ตัวแบนไม่สวย กระดองดำ หัว หาง และขาดำ มีแต้มขาวเหนือตา แก้ม และตามใบหน้าอีกหลายแห่ง กระดองส่วนบนยาวเต็มที่ประมาณ 200 เซนติเมตร
  • ถิ่นอาศัย, อาหาร :พบในอินเดีย อินโดจีน มาเลเซีย สุมาตรา ชวา บอร์เนียว ฟิลิปปินส์ สำหรับประเทศไทยพบทั่วไป แต่มีมากในภาคกลาง และภาคใต้ เต่าดำกินหอย กุ้ง ผัก และเมล็ดพืชเป็นอาหาร
  • พฤติกรรม, การสืบพันธุ์ :ชอบกบดานหรือหากินตามพื้นดินโคลนใต้ น้ำ นาน ๆ จึงโผล่ขึ้นมาสักครั้ง ดังนั้นเวลาพบจึงเห็นตัวสกปรกเลอะโคลนอยู่เสมอ จะขึ้นบกเวลากลางคืน เพื่อต้องการหาทำเลวางไข่ หรือผสมพันธุ์ หรือย้ายที่ทำมาหากิน ส่วนกลางวันมักหมกตัวอยู่ในที่รก ชื้นแฉะ หรือตามโคลนใต้พื้นน้ำ
  • สถานภาพปัจจุบัน :เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535
  • สถานที่ชม :สวนสัตว์ดุสิต, สวนสัตว์เปิดเขาเขียว, สวนสัตว์เชียงใหม่ 
  • ที่มา
  • http://www.zoothailand.org

เหี้ยดำ(มังกรดำ)


เหี้ยดำ(มังกรดำ)

เหี้ยดำ(มังกรดำ)
  • ชื่อทางวิทยาศาสตร์ :Varanus salvator komaini 
  • ลักษณะทั่วไป :มีขนาดเล็กกว่าเหี้ยมาก เมื่อโตเต็มวัยจากปลายากถึงโคนหาง 50 เซนติเมตร หางยาว 60 เซนติเมตร มังกรดำ สีดำสนิทด้านทั้งตัว ไม่มีลายและจุดด่างเลย ท้องเทาเข้ม ลิ้นสีเทาม่วง มังกรดำเป็น Monitor ชนิดที่พบใหม่ มีรูปลักษณะคล้ายเหี้ย ลักษณะของเกล็ดผิดเพี้ยนกันเพียงเล็กน้อย
  • ถิ่นอาศัย, อาหาร :มังกรดำพบได้เฉพาะบริเวณชายทะเลและเกาะเล็ก ๆ ทางฝั่งตะวันตกภาคใต้ของประเทศไทย
  • พฤติกรรม, การสืบพันธุ์ :อุปนิสัยคล้ายตะกวดดำที่พบในปาปัวนิกินีมาก 
  • สถานภาพปัจจุบัน :
  • สถานที่ชม :สวนสัตว์ดุสิต, สวนสัตว์นครราชสีมา 

เหยี่ยวต่างสี


เหยี่ยวต่างสี


เหยี่ยวต่างสี
  • ชื่อทางวิทยาศาสตร์ :Spizaetus cirrhatus
  • ลักษณะทั่วไป :เหยี่ยวต่างสีเป็นเหยี่ยวค่อนข้างใหญ่ ขนาดลำตัว 56 - 75 เซนติเมตร ตัวผู้และตัวเมียมีลักษณะคล้ายกัน มีชนิดสีเข้มหรือดำ และสีอ่อน ชนิดสีอ่อนมีสีน้ำตาลเข้มตอนบนของตัว ตอนล่างมีสีขาว และมีลายเป็นทางเล็ก ๆ สั้น ๆ สีน้ำตาลตามหน้าอกและท้อง ขามีขนขึ้นเต็มและมีลายขวางเล็ก ๆ สีน้ำตาล ส่วนชนิดสีเข้มมีสีน้ำตาลไหม้ทั่วทั้งตัว ตลอดถึงขามีขนขึ้นเต็ม หางสั้นกว่าชนิดสีอ่อน การที่เหยี่ยวต่างสีมี 2 ชนิด ก็คล้ายกับพวกเสือดาวที่มีลูกออกมาเป็นสีดำได้
  • ถิ่นอาศัย, อาหาร :เหยี่ยวต่างสีมีถิ่นกำเนิดในอินเดีย พม่า ไทย ลาว เขมร เวียตนาม ฟิลิปปินส์ อันดามัน ซุนดาส์ สุมาตรา บอร์เนียว สำหรับประเทศไทยมีทั่วทุกภาค แต่พบไม่บ่อยและมีปริมาณไม่มากนัก อาหารได้แก่ หนู นกเล็ก ๆ ค้างคาว งู กิ้งก่า และสัตว์เล็ก ๆ เช่น กระต่าย อีเห็น
  • พฤติกรรม, การสืบพันธุ์ :เหยี่ยวต่างสีชอบอาศัยอยู่ทั้งในป่าดง ดิบ ป่าทึบ ป่าสูง ตลอดจนป่าโปร่งและที่ราบสูง ชอบเกาะตามยอดไม้สูงเพื่อมองหาเหยื่อ ไม่ชอบบินร่อน เมื่อเห็นเหยื่อจะโฉบลงจับทันที พบได้ที่ความสูง 2,000 เมตรจากระดับ

    น้ำทะเล เหยี่ยวชนิดนี้ผสมพันธุ์หน้าหนาวและหน้าร้อน ผสมพันธุ์ทั้งในที่ราบและตามป่าเชิงเขาหรือตามป่าภูเขาสูง ทำรังตามต้นไม้ใหญ่ที่อยู่ใกล้น้ำ หรือใกล้หมู่บ้าน ชอบทำรังตรงกิ่งไม้ที่ยื่นออกไปเหนือน้ำหรือลำธารในป่า ทำรังด้วยกิ่งไม้เล็ก ๆ วางขัดสานกันอย่างเป็นระเบียบ จะวางไข่ 1 - 3 ฟอง ทั้งสองเพศช่วยกันฟักไข่ ใช้เวลาฟัก 40 วัน
  • สถานภาพปัจจุบัน :เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า
    พุทธศักราช 2535
  • สถานที่ชม :สวนสัตว์นครราชสีมา, สวนสัตว์เชียงใหม่, สวนสัตว์สงขลา

หงส์ดำ



หงส์ดำ


หงส์ดำ
  • ชื่อทางวิทยาศาสตร์ :Cygnus atratus 
  • ลักษณะทั่วไป :ตัวผู้มีสีขนทั่วตัวดำอมเทา ยกเว้นขนปีกสำหรับบินเส้นยาวเท่านั้นที่เป็นสีขาวซึ่งตัดกับลำตัวเห็นเด่น ชัดสะดุดตา นัยน์ตาสีแดงเข้ม จะงอยปากสีแดงแต่มีแถบขาว ปลายปาก ขาและเท้าสีดำ หงส์ดำตัวเมียเหมือนตัวผู้ทุกอย่าง แต่มีขนาดเล็กกว่าและลำคอสั้นกว่าเล็กน้อย 
  • ถิ่นอาศัย, อาหาร :มีถิ่นอาศัยอยู่ในเกาะทัสมาเนีย ออสเตรเลีย หงษ์ดำพืชน้ำ ลูกกุ้ง ลูกปลา 
  • พฤติกรรม, การสืบพันธุ์ :ชอบอยู่ตามแหล่งน้ำอันกว้างใหญ่ทั้ง น้ำจืดและน้ำเค็ม ทะเลสาบ แม่น้ำ หนองน้ำ ชอบอยู่เป็นกลุ่มเล็ก ๆ เสียงร้องเหมือนเสียงทรัมเป็ตมักร้องในตอนเย็นหรือกลางแสงจันทร์ในคืนเดือน หงายขณะกำลังบิน หงษ์ดำวางไข่ครั้งละ 5-6 ฟอง ไข่มีสีขาวแกมเขียว ระยะเวลาฟักไข่นาน 34-37 วัน 
  • สถานภาพปัจจุบัน :
  • สถานที่ชม :สวนสัตว์เปิดเขาเขียว, สวนสัตว์นครราชสีมา, สวนสัตว์เชียงใหม่, สวนสัตว์สงขลา
  • ที่มา  http://www.zoothailand.org

เป็ดหงส์


เป็ดหงส์
เป็ดหงส์
  • ชื่อทางวิทยาศาสตร์ :Sarkidiornis melanotos 
  • ลักษณะทั่วไป :เป็นเป็ดป่าขนาดใหญ่ มีลำตัวยาวถึง 76 เซนติเมตร มีจะงอยปากสีดำ แถบบนปีกมีสีบรอนซ์สะดุดตา เป็ดตัวผู้มีส่วนหลังสีดำเหลือบสีเขียวแกมฟ้าและสีม่วง ส่วนหัวและลำคอสีขาว มีจุดประสีดำ มีแถบสีดำรอบด้านหลังคอพาดลงไปถึงด้านข้างของส่วนอก และอีกแถบหนึ่งพาดลงไปด้านข้างของส่วนหาง ขณะบินจะสังเกตเห็นแผ่นหลังส่วนล่างสีออกเทาชัดเจน ในฤดูผสมพันธุ์ตัวผู้มีปุ่มเนื้อที่โคนจะงอยปากด้านบน ส่วนคอและที่ใกล้หาง ลูกเป็ดอายุน้อยลำตัวไม่ค่อยมีสีเหลือบและบริเวณแถบขาวมีสีคล้ำ 
  • ถิ่นอาศัย, อาหาร :ชอบอาศัยอยู่ตามแหล่งน้ำที่มีพืชปก คลุม ทำรังในโพรงของต้นไม้ที่ขึ้นอยู่ใกล้น้ำ ตั้งแต่ปากีสถาน อินเดีย ศรีลังกา บังคลาเทศ ไปทางทิศตะวันออก ผ่านแคว้นอัสสัม พม่า ถึงบริเวณเอเซียตะวันออกเฉียงใต้และจีนตอนตะวันตกเฉียงใต้ นอกจากนี้ยังพบในทวีปแอฟริกาอีกด้วย อาหารได้แก่ ข้าวเปลือก เมล็ดหญ้า ลำต้นอ่อนของพืช และสัตว์น้ำ 
  • พฤติกรรม, การสืบพันธุ์ :ปกติจะพบอาศัยอยู่เป็นกลุ่มครอบครัว หนึ่ง 4-10 ตัว หากินโดยการไซ้กินหัวและยอดอ่อน ตลอดจนเมล็ดของพืชน้ำ เมล็ดข้าว แมลงน้ำ บางครั้งพบกินกบ เขียดและปลาด้วย เป็ดป่าชนิดนี้เดิน และเกาะกิ่งไม้ได้ดี การเกาะกิ่งไม้ใช้กรงเล็บแหลมที่แข็งแรงเกาะ เป็ดหงษ์มีฤดูผสมพันธุ์ตกอยู่ในราวเดือนกรกฎาคมจนถึงเดือนกันยายน ในประเทศอินเดียมีรายงานว่าพบทำรังในรังเก่าของพวกแร้ง และในรูบนกำแพงป้อมเก่า ๆ และบนหน้าผาดิน วางไข่สีครีมจาง ๆ จำนวน 7-15 ฟอง เป็ดหงส์ผสมพันธุ์ในช่วงฤดูฝน โดยทำรังวางไข่ตามโพรงต้นไม้ในป่า หรือต้นไม้ใกล้แหล่งน้ำ ไข่สีงาช้างเป็นมัน ไม่มีลวดลาย ตัวเมียฟักไข่นาน 29 - 31 วัน ส่วนตัวผู้จะคอยเฝ้าระวังภัยอยู่ใกล้ๆ 
  • สถานภาพปัจจุบัน :พบน้อยมาก ปี พ.ศ. 2529 พบ 10 ตัว ที่เขตห้ามล่าสัตว์ป่าอ่างเก็บน้ำสนามบิน จังหวัดบุรีรัมย์ ปี พ.ศ. 2531 พบ 1 ตัว ที่บึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์ การเปลี่ยนแปลงสภาพบริเวณบึง หนอง ตามธรรมชาติไปเป็นทุ่งนา สำหรับปลูกข้าว และการตัดฟันต้นไม้สูงๆ ลงเป็นจำนวนมาก รวมทั้งการล่าเพื่อเป็นอาหารอย่างหนัก ทำให้ต้องสูญเสียแหล่งหากิน แหล่งทำรังและแหล่งพักนอนไป เป็ดหงส์จึงไม่ทำรังวางไข่ในประเทศไทยอีกต่อไป พบเฉพาะตัวที่บินมาหากินในฤดูหนาวในบริเวณอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่บางแห่งเท่า นั้น จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 
  • สถานที่ชม :สวนสัตว์ดุสิต, สวนสัตว์เปิดเขาเขียว, สวนสัตว์นครราชสีมา, สวนสัตว์เชียงใหม่, สวนสัตว์สงขลา 

ชะนีแก้มขาว


ชะนีแก้มขาว



ชะนีแก้มขาว
  • ชื่อทางวิทยาศาสตร์ :Hylobates concolor
  • ลักษณะทั่วไป :ชะนีแก้มขาวมี 3 ชนิด คือ 1) H.c. concolor ชนิดนี้พบในเกาะไหหลำ ตัวผู้สีดำหมดทั้งตัว บริเวณใบหน้ามีขนสีขาวขึ้นแซมรอบดวงตา จมูกและปาก ส่วนตัวเมียสีนวลและมีสีดำอยู่กลางกระหม่อม 2) H.c. leucogenys ชนิดนี้อยู่ในประเทศลาวและเวียดนามเหนือ ตัวผู้มีสีดำ แต่ข้างแก้มมีสีขาว ส่วนตัวเมียมีสีทองหรือสีครีม ที่อกมีสีดำเรื่อ ๆ กลางกระหม่อมมีขนสีดำ 3) H.c. gabrieliae ชนิดนี้อยู่ทางใต้ของเวียดนามติดกับแดนเขมร ตัวผู้มีสีดำล้วน มีขนสีทองปนแดง บริเวณแก้มและคางมีสีขาว ตัวเมียมีสีนวล ที่หน้าอกเป็นสีดำเห็นได้ถนัด และที่หัวมีขนขึ้นเป็นสันสูงสีดำเห็นได้ชัด ชะนี

    แก้มขาวเกิดใหม่เป็นสีทอง เมื่ออายุ 6–8 เดือนมือเท้าและหัวเริ่มเปลี่ยนเป็นสีดำ หลังจากนั้นทั้งตัวผู้และตัวเมียจะค่อย ๆ เปลี่ยนเป็นสีดำสนิท ส่วนแก้มมีสีขาว เมื่ออายุได้ประมาณ 6-7 ปี ตัวเมียขนจะเปลี่ยนเป็นสีทองหรือสีครีม โดยพวก H.c. leucogenys จะมีสีดำที่หน้าอก ส่วนพวก H.c. gabrieliae ทั้งหน้าอกจะมีสีดำและมีสันขนบนหัว ชะนีแก้มขาวเวลายืนไม่งอเข่าเหมือนชะนีชนิดอื่น ตัวผู้มีกล่องเสียง ทำให้ร้องเป็นช่วง ๆ ติดกันได้นาน ตัวเมียไม่มีกล่องเสียง การร้องจึงมีเสียงผิดกัน เครื่องเพศของทั้งตัวผู้และตัวเมียมีกระดูกอ่อนเสริมอยู่ทำให้ดูเพศยากเมื่อยังเล็กอยู่ หรือเมื่อขนทั่วตัวยังดำอยู่ยังไม่เปลี่ยนสี ให้สังเกตจากอัณฑะ ถ้าตัวใดมีแสดงว่าเป็นตัวผู้
  • ถิ่นอาศัย, อาหาร :ชะนีแก้มขาวพบในประเทศลาว อินโดจีน ไหหลำ สำหรับประเทศไทยพบที่จังหวัดเลย อำเภอเชียงคาน เป็นชะนีที่หายาก กินผลไม้ ยอดไม้ ไข่นก และแมลงต่างๆ
  • พฤติกรรม, การสืบพันธุ์ :ชอบห้อยโหนไปตามกิ่งไม้ ไม่วิ่งไต่ไปบนต้นไม้ ใช้ชีวิตเกือบทั้งวันอยู่บนต้นไม้สูง เวลากินน้ำใช้หลังนิ้วแตะน้ำแล้วยกดูด บางทีใช้ลิ้นเลียตามแอ่งน้ำเล็ก ๆ ชอบร้องและผึ่งแดดเวลาเช้าตรู่บนกิ่งไม้ เวลากลางวันหรือตอนบ่ายที่อากาศร้อนจัด ชะนีจะลงมาจากยอดไม้สูงเพื่อหลบแสงแดด เวลาตกใจจะเหวี่ยงตัวโหนไปตามกิ่งไม้อย่างรวดเร็ว และไปหลบอยู่ตามพุ่มไม้หนาๆ เหยี่ยวและงูเหลือมเป็นศัตรูสำคัญของชะนี เมื่อมีอายุ 7-8 ปีจึงจะผสมพันธุ์ได้ ตั้งท้องนานประมาณ 240 วัน ตกลูกครั้งละ 1 ตัว ลูกชะนีหย่านมเมื่ออายุ 4-7 เดือน และจะอยู่กับแม่จนอายุประมาณ 2 ปี จึงแยกไปหากินเอง ชะนีอายุยืนถึง 30 ปี
  • สถานภาพปัจจุบัน :เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535
  • สถานที่ชม :สวนสัตว์ดุสิต, สวนสัตว์เปิดเขาเขียว, สวนสัตว์นครราชสีมา, สวนสัตว์เชียงใหม่, สวนสัตว์สงขลา

ชะนีมือดำ


ชะนีมือดำ


ชะนีมือดำ



  • ชื่อทางวิทยาศาสตร์ :Halobates agilis 
  • ลักษณะทั่วไป :ชะนีมือดำมีรูปร่างสีสันคล้ายชะนีมือขาวมาก ทั้งตัวผู้และตัวเมียจะไม่มีการเปลี่ยนสี เช่นถ้าเกิดมามีสีดำก็จะมีสีดำไปตลอด ทั้งสองเพศอาจมีสีขาวหรือสีดำก็ได้ ชะนีมือดำไม่มีวงขาวรอบใบหน้า แต่บางตัวก็อาจมีเป็นรอยขาวจางๆ และที่คิ้วเป็นสีขาว 
  • ถิ่นอาศัย, อาหาร :พบทางภาคใต้ของประเทศไทย มาเลเซีย สุมาตรา และบอร์เนียว กินผลไม้ ยอดไม้ ไข่นก และแมลงต่าง ๆ 
  • พฤติกรรม, การสืบพันธุ์ :ชอบห้อยโหนไปตามกิ่งไม้ ใช้ชีวิตเกือบทั้งวันอยู่บนต้นไม้สูง เวลากินน้ำใช้หลังนิ้วแตะน้ำและยกดูด ชอบร้องและผึ่งแดดเวลาเช้าตรู่บนกิ่งไม้ เวลาอากาศร้อนจัดจะลงมาจากต้นไม้สูงเพื่อหลบแดด เวลาตกใจจะเหวี่ยงตัวโหนไปตามกิ่งไม้อย่างรวดเร็ว เหยี่ยวและงูเหลือมเป็นศัตรูสำคัญของชะนี ชะนีผสมพันธุ์ตอนอายุ 7-8 ปี ตั้งท้องประมาณ 8 เดือน ออกลูกครั้งละ 1 ตัว ลูกชะนีจะหย่านมเมื่ออายุ 4-7 เดือน จนอายุ 2 ปีจะแยกไปหากินเอง ชะนีอาจมีอายุยืนถึง 30 ปี 
  • สถานภาพปัจจุบัน :เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 
  • สถานที่ชม :สวนสัตว์เชียงใหม่, สวนสัตว์สงขลา 
ที่มา  http://www.zoothailand.org

ชะมดแปลงลายแถบ(อีเห็นลายเมฆ)


                                                   ชะมดแปลงลายแถบ(อีเห็นลายเมฆ)


ชะมดแปลงลายแถบ(อีเห็นลายเมฆ)
  • ชื่อทางวิทยาศาสตร์ :Prionodon linsang
  • ลักษณะทั่วไป :ลำตัวเพรียว หางยาว แต่ขาสั้น ด้วยเหตุนี้เมื่อเดินไต่อยู่ตามกิ่งไม้จึงดูคล้ายงูมากกว่าสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ชะมดแปลงลายแถบต่างกับชะมดแปลงลายจุดตรงที่จุดบนหลังติดกันกลายเป็นแถบคดเคี้ยวขวางหลังของ

    สัตว์ มีอยู่ทั้งหมด 5 แถบ และตามด้านข้างของคอและลำตัว จุดจะติดกัน กลายเป็นแถบคดเคี้ยวมีอยู่ด้านละ 2 แถบ สีพื้นของตัวเป็นสีน้ำตาลแกมเหลืองซีด ๆ หางมีปล้องสีขาวสลับดำอยู่ 7 ปล้อง ไม่มีขนแผงคอหรือแผงหลังและไม่มีต่อมกลิ่น อุ้งเล็บมีปลอกหุ้ม สามารถเอาเล็บออกมาใช้ได้ทันทีเหมือนกับแมวหรือเสือ
  • ถิ่นอาศัย, อาหาร :ชะมดแปลงลายแถบพบในป่าตามแนวเทือกเขาตะนาวศรี ทางภาคใต้ของประเทศไทย มาเลเซีย สุมาตรา ชวาและบอร์เนียว เป็นสัตว์หายาก เป็นสัตว์กิน นก หนูที่อยู่ตามต้นไม้ งู และสัตว์เล็กอื่น ๆ นอกจากนี้ยังกินแมลงที่ตัวโตๆ
  • พฤติกรรม, การสืบพันธุ์ :ชะมดแปลงลายแถบเป็นสัตว์หากินกลางคืน อาศัยอยู่ในป่าที่ค่อนข้างรกทึบ ส่วนใหญ่อยู่บนต้นไม้ บางครั้งอาจลงมาบนพื้นดินบ้างเพื่อหาอาหาร ชะมดแปลงลายแถบผสมพันธุ์ช่วงเดือนกุมภาพันธ์-สิงหาคม มีผู้พบว่าชะมดแปลงแถบสร้างรังออกลูกด้วยเรียวไม้และใบไม้อยู่ในโพรงดินโคนต้นไม้ใหญ่ ออกลูกครั้งละ 2–3 ตัว มีอายุยืนเกือบ 10 ปี
  • สถานภาพปัจจุบัน :เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535
  • สถานที่ชม :สวนสัตว์เปิดเขาเขียว, สวนสัตว์นครราชสีมา
ที่มา  http://www.zoothailand.org